เรียนรู้อาเซียนเพิ่มเติม

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สมาชิก AEC : อินโดนีเซีย

สมาชิก AEC : อินโดนีเซีย

      
ธงประจำชาติ                                                            ตราแผ่นดิน
อินโดนีเซีย (Indonesia)
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
เมืองหลวง : จาการ์ตา (Jakarta)

ที่ตั้ง : อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่องแคบที่สำคัญต่างๆ เช่น ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่องแคบล็อมบอก ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
พื้นที่ : พื้นที่ทางบก 1,904,443 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทางทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร (รวมพื้นที่ทั้งหมด 5,070,606 ตารางกิโลเมตร) เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อย กว่า 17,508 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ
หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วย เกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี
หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์
หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี
อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี
ภูมิอากาศ : มีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และ ฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน)
ประชากร : ประมาณ 243 ล้านคน (2553) ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม ซึ่งพูดภาษาต่างกันกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
ภาษา : ภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia
ศาสนา : อิสลามร้อยละ 85.2 คริสต์นิกายโปรแตสแตนร้อยละ 8.9 คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกร้อยละ 3 ฮินดูร้อยละ 1.8 พุทธร้อยละ 0.8 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.3
ประธานาธิบดี คือ ดร.ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono)
ระบอบการปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร (ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2552
เขตการปกครอง  30 จังหวัด และเขตการปกครองพิเศษ 3 เขต ได้แก่ กรุงจาการ์ตา เมืองยอกยาการ์ตา และจังหวัดอาเจห์
วันชาติ  17 สิงหาคม
หน่วยเงินตรา : รูเปียห์ (Rupiah : IDR) (10,000 รูเปียห์ ประมาณ 35บาท)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  706.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ประชาชาติต่อหัว  4,222 ดอลลาร์สหรัฐ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 6.1
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
สินค้านำเข้าสำคัญ: น้ำมัน เหล็ก ท่อเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ เคมีภัณฑ์
สินค้าส่งออกที่สำคัญ: ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ ถ่านหิน เครื่องใช้ไฟฟ้า ยางพารา
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ: สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา
ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ : EU ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน สิงคโปร์
ชื่อภาษาท้องถิ่น – เนการา เคซาตวน เรปูบลิก อินโดเนเซีย
คำทักทาย – ซาลามัต เซียง
                                                       
ดอกไม้ประจำชาติ
 : ดอก Moon Orchid หรือกล้วยไม้ราตรี เป็นกล้วยไม้สายพันธ์ Phalaenopsis Amabilis
อาหารยอดนิยมของอินโดนีเซีย 
“กาโด กาโด”(Gado Gado)

อาหารสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ ประกอบไปด้วยผักและธัญพืช เช่น มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว เสริมโปรตีนด้วยเต้าหู้และไข่ต้ม รับประทานคู่กับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ ซึ่งใกล้เคียงกับสลัดแขก ของประเทศไทย
ชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย


เกบาย่า (Kebaya) เป็นชุดประจำชาติของประเทศ อินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาว ผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติก ส่วนการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาวหรือเต ลุก เบสคาพ (Teluk Beskap) ซึ่งเป็นการแต่งกายแบบผสมผสานระหว่างเสื้อคลุมสั้นแบบชวาและโสร่ง และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด
เครื่องดนตรี
                                                            
Gamelan
 เป็นกลุ่มของเครื่องดนตรีประกอบด้วยเครื่องดนตรีหลากหลาย ชนิด เช่น metallophones, xylophones และ gongs ขลุ่ยไม้ไผ่ อาจมีนักร้องด้วยก็ได้ คำว่า “Gamelan” มาจากคำของชาวชวา คำว่า “ gamel” มีความหมายว่า ตี หรือ เคาะ และตัวท้าย “an” ใส่เพื่อทำให้นามนั้นเป็นพหูพจน์
                                                         
Angklung
 เป็นเครื่องดนตรีที่ทำมาจากท่อไม้ไผ่ 2 ชิ้นแนบกับโครงไม้ไผ่ท่อ มีลักษณะเป็นวงโค้งเวลาเขย่าจึงเกิดเสียงก้องกังวาน ฐานของโครงนั้นจะถูกยึดกุมด้วยมือเดียว ขณะที่อีกมือหนึ่งเขย่าอย่างเร็วจากด้านหนึ่งไปด้านหนึ่ง Angklung ทั้งสามอันหรือมากกว่านั้นจะแสดงเป็นกลุ่ม แต่ละอันจะเล่นเพียงโน้ตเดียว และเมื่อเสียงของแต่ละอันรวมกันก็จะเกิดเป็นท่วงทำนองหลักขึ้น Angklung ได้รับความนิยมทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มีถิ่นกำเนินที่อินโดนีเซีย (ชาวชุนดาใช้และเล่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ)
                                                      
Gambang
 หรือที่เรียกว่า Gambang kayu (Gambang ไม้) เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกับระนาดที่ใช้ในหมู่ชาวอินโดนีเซียและทาง ตอนใต้ของฟิลิปปินส์ ในวงมโหรี Gamelan และ Kulintang

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  :  http://instrumentasean.wordpress.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น