เรียนรู้อาเซียนเพิ่มเติม

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สมาชิก AEC : สิงคโปร์

สมาชิก AEC : สิงคโปร์


             
ธงประจำชาติ                                                               ตราแผ่นดิน
สิงคโปร์ (Singapore)
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)
เมืองหลวง : สิงคโปร์

ที่ตั้ง : เป็นนครรัฐ ที่ตั้งอยู่บนเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ละติจูด 1°17’35″ เหนือ ลองจิจูด 103°51’20″ ตะวันออก ตั้งอยู่ทางใต้สุดของคาบสมุทรมาเลย์ อยู่ทางใต้ของรัฐยะโฮร์ (Johor Bahru)ของประเทศมาเลเซีย และอยู่ทางเหนือของเกาะเรียล(Riau)ของประเทศอินโดนีเซีย
พื้นที่ : ประกอบด้วยเกาะสิงคโปร์และเกาะใหญ่น้อยบริเวณใกล้เคียง 63 เกาะ มีพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 697 ตารางกิโลเมตร (ประมาณเกาะภูเก็ต) เกาะสิงคโปร์เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวจากทิศตะวันตกไปตะวันออก ประมาณ 42 กิโลเมตร และความกว้างจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ประมาณ 23 กิโลเมตร
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น มีฝนตกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 26.8 องศาเซลเซียส
ประชากร : 5.08 ล้านคน ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
ภาษา : ภาษาทางราชการ คือ ภาษามาเลย์ (ภาษาประจำชาติ) จีนกลาง (แมนดาริน) ทมิฬ และอังกฤษ สิงคโปร์ส่งเสริมให้ประชาชนพูด 2 ภาษา โดยเฉพาะจีนกลาง ในขณะที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่องานและในชีวิตประจำวัน
ศาสนา : พุทธ 42.5% อิสลาม 14.9% คริสต์ 14.5% ฮินดู 4% ไม่นับถือศาสนา 25%
ประธานาธิบดี คือ นายโทนี ตัน
นายกรัฐมนตรี คือ นายลี เซียน ลุง (Lee Hsien Loong) (12 สิงหาคม 2547)
ระบอบการปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา (Parliamentary Parliament) มีสภาเดียว (Unicameral parliament) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ (วาระ 6 ปี) และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล/หัวหน้าฝ่ายบริหาร (วาระ 5 ปี) โดยการเลือกตั้งครั้งล่าสุด คือเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2554 โดยนายลี เซียน ลุงหัวหน้าพรรค PAP ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด และได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่ออีกสมัย
วันชาติ  9 สิงหาคม (แยกตัวจากสหพันธรัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2508)
หน่วยเงินตรา : ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar : SGD) (1 SGD ประมาณ 23.47 บาท)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  259.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ประชาชาติต่อหัว  50,123 ดอลลาร์สหรัฐ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 4.9
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
    อุตสาหกรรมหลัก : การผลิต การก่อสร้าง การคมนาคมขนส่งและโทรคมนาคม การเงินและการธนาคาร การบริการอื่นๆ
สินค้าส่งออกที่สำคัญ : เครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้า
สินค้านำเข้าที่สำคัญ : เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และไทย
ชื่อภาษาท้องถิ่น ภาษาอังกฤษ -รีพับลิก ออฟ สิงคโปร์
ภาษาจีน – ซินเจียโพ ก่งเหอกั๋ว
คำทักทาย – หนีห่าว
                           
ดอกไม้ประจำชาติ
 : ดอก Vanda Miss Joaquim เป็นดอกกล้วยไม้ซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ โดยตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ มีสีม่วงและรูปลักษณ์ที่สวยงาม
อาหารยอดนิยมของประเทศสิงคโปร์
ลักสา (Laksa)

เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ) มีลักษณะคล้ายกับข้าวซอยของไทย โดยเส้นก๋วยเตี๋ยวจะมีลักษณะคล้าย vermicelli ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นสปาเกตตี้ของอิตาลี
ชุดประจำชาติของประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์ไม่มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เนื่องจากประเทศสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 4 เชื้อชาติหลัก ๆ ได้แก่ จีน มาเลย์ อินเดีย และชาวยุโรป ซึ่งแต่ละเชื้อชาติก็มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เช่น ผู้หญิงมลายูในสิงคโปร์ จะใส่ชุดเกบาย่า (Kebaya) ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ หากเป็นชาวจีน ก็จะสวมเสื้อแขนยาว คอจีน เสื้อผ้าหน้าซ่อนกระดุม สวมกางเกงขายาว โดยเสื้อจะใช้ผ้าสีเรียบหรือผ้าแพรจีนก็ได้
เครื่องดนตรี
                                                        
Dizi
 เป็นขลุ่ยจีนดั้งเดิมมีปุ่ม 3 ปุ่ม อาจจะมีแผ่นบาง ๆ เพื่อปิดรูไว้เพื่อทำให้เกิดเสียงรัว เชื่อกันว่า Dizi นำมาจากทิเบตในช่วงยุคราชวงค์ฮั่นและตั้งแต่นั้นมาก็มีการใช้ในประเทศจีนมา เป็นเวลากว่า 2 พันปีแล้ว ผู้เล่นจะมีเทคนิคในการเป่ามากมาย ซึ่งก็จะทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างกันไป
                                                                     
Erhu
 เกิดขึ้นในประเทศจีนในสมัยรัชวงศ์ถัง เป็นซอสองสายที่เล่นบนตัก เส้นสายจะมีระดับเสียง 5 ระดับ ใช้คันชักในการสี มีรูปแบบหลายชนิดโดยรูปร่างและกล่องเสียงก็จะแตกต่างกันออกไป Erhu กลายมาเป็นเครื่องดนตรีหลักในอุปรากรจีน
                                                                
Gaohu
 เป็นเครื่องดนตรีหลักของเพลงกวางตุ้งและเพลงอุปรากรจีน Gaohu มีลักษณะคล้ายกับ Erhu แต่มีกล่องเสียงที่มีน้ำหนักเบากว่า โดยทั่วไปกล่องเสียงจะเป็นวงกลม และมีระดับเสียงที่สูงกว่าคือ 5 ระดับด้วยกัน และมีเสียงที่กังวานกว่าเมื่อเทียบกับ Erhu
                                                    
Veena
 เป็นเครื่องดีดที่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในดนตรี Carnatic (ดนตรีที่เล่นกันทางตอนใต้ของอินเดีย) รูปแบบของ Veena มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปผู้ที่เล่น Veena เราจะเรียกเขาว่า Vainika
                                                                      
Zhongruan
 เป็นเครื่องดีดของจีนที่อาจจะใช้นิ้วหรือปิ๊กดีดก็ได้ มีลักษณะคล้ายกับ pipa มีคอตั้งตรง มีกล่องเสียงเป็นวงกลมและมีลวดลายสลัก
                                                         
Guzheng
 เป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของจีน เป็นแม่แบบของ koto เครื่องดนตรีญี่ปุ่น yatga เครื่องดนตรีของมองโกเลีย และKayageum เครื่อง ดนตรีของเกาหลีแม่แบบของ Guzheng คือ se (เครื่องดนตรีประเภทสายโบราณของจีน) สายของมันแต่เดิมแล้วทำด้วยไหม จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นสายโลหะและเหล็กที่พันด้วยไนลอนตามลำดับ จำนวนสายของ Guzheng จะมีจำนวนไม่แน่นอนอย่างน้อยที่สุดมี 6 เส้น หรือมากที่สุด 23 เส้น
                                                       
Yangqin
 เป็นเครื่องดนตรีที่คล้ายขิมของประเทศไทย แต่เดิมแล้วมาจากประเทศแถบตะวันออกกลาง มีรูปแบบแตกต่างกันไป เป็นที่นิยมไม่เพียงแต่เฉพาะในประเทศจีน แต่ยังนิยมในยุโรปกลาง ตะวันออกกลาง อินเดียและปากีสถานอีกด้วย Yangqin ใช้เล่นอยู่ในวงหรือเล่นเดี่ยวก็ได้
                                                                     
Konghou
 ลักษณะเด่นที่ Konghou ต่างจากพิณคอนเสิร์ตในตะวันตกคือ สายของ Konghou จะถูกพับเพื่อทำให้เกิดแถวสองแถว ซึ่งทำให้ผู้เล่นสามารถใช้เทคนิคการเล่นชั้นสูงได้ สายที่มีสองแถวนั้นยังเหมาะกับการเล่นจังหวะเร็วและเสียงประกอบด้วย
                                                     
Pipa
 บางครั้งเรียก ขลุ่ยจีน มีรูปร่างเหมือนผลแพร์ ใช้เป็นเครื่องดนตรีมาเป็นเวลายาวนานกว่า 2 พันปีในจีน วิธีการเล่น คือใช้ทุกนิ้วข้างขวายกเว้นนิ้วหัวแม่มือกดสายจากขวาไปซ้าย และใช้นิ้วหัวแม่มือขวาดีดจากซ้ายไปขวา เมื่อเริ่มแรกสายจะถูกดีดด้วยปิ๊กอันใหญ่ จากนั้นก็ค่อยๆเปลี่ยนมาใช้นิ้วข้างขวาแทน

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  :  http://instrumentasean.wordpress.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น