เรียนรู้อาเซียนเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สมาชิก AEC : ประเทศไทย

สมาชิก AEC : ไทย

         
ธงประจำชาติ                                                                 ตราแผ่นดิน
ประเทศไทย (Thailand)
ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร (Bangkok)

ที่ตั้ง : ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดกับประเทศพม่าและประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง
พื้นที่ : 513,115.02 ตารางกิโลเมตร
ภูมิอากาศ : เป็นแบบเขตร้อน อากาศร้อนที่สุดในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมเป็นฤดูร้อน โดยจะมีฝนตกและเมฆมากจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึง เดือนตุลาคมเป็นฤดูฝน ส่วนในเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมีนาคม อากาศแห้งและหนาวเย็นจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นฤดูหนาว ยกเว้นภาคใต้ที่มีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปีจึงมีแค่สองฤดูคือฤดูร้อนกับฤดูฝน
ประชากร : 65,926,261 คน ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบอบการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร (His Majesty King Bhumibol Adulyadej)
นายกรัฐมนตรี คือ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เขตการปกครอง  ประเทศไทยแบ่งเขตการบริหารออกเป็น การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด 77 จังหวัด 877 อำเภอ และ 7,255 ตำบล และการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล
วันชาติ  วันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
หน่วยเงินตรา : บาท (Baht : THB) 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ประมาณ 29.37 บาท
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  379.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ประชาชาติต่อหัว  5,587 ดอลลาร์สหรัฐ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 5.5-6.5
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
     สินค้าส่งออกที่สำคัญ : เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้า ยางพารา เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ น้ำมันสำเร็จรูป เหล็ก เหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ ส่วนประกอบเคมีภัณฑ์ และข้าว
สินค้านำเข้าที่สำคัญ : น้ำมันดิบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่นๆ อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ตลาดส่งออกที่สำคัญ : สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ ฮ่องกง
คำทักทาย – สวัสดี

ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Ratchaphruek หรือราชพฤกษ์ มีช่อดอกสีเหลืองที่สวยงาม ชาวไทยถือว่าสีเหลืองของดอกไม้ชนิดนี้ คือ สีของพระพุทธศาสนา และความรุ่งโรจน์
อาหารยอดนิยมของประเทศไทย
“ต้มยำกุ้ง” (Tom yam Goong)

เป็นอาหารที่โด่งดังมากที่สุดของประเทศไทย ชาวต่างชาติจะรู้จักต้มยำกุ้งมากกว่าต้มยำชนิดอื่นๆ การปรุงต้มยำกุ้งจะเน้นรสชาติเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลัก จะออกเค็มและหวานเล็กน้อย มีเครื่องเทศที่ใส่ในน้ำแกงที่สำคัญคือ ใบมะกรูด ตะไคร้ ส่วนผักที่นิยมใส่ในต้มยำ ได้แก่ มะเขือเทศ เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า ใบผักชี ส่วนเครื่องปรุงที่จำเป็นต้องใส่คือ มะนาว น้ำปลา น้ำตาลและน้ำพริกเผา
ชุดประจำชาติของประเทศไทย
              
สำหรับชุดประจำชาติอย่างเป็นทางการของไทย รู้จักกันในนามว่า “ชุดไทยพระราชนิยม” โดยชุดประจำชาติสำหรับสุภาพบุรุษ จะเรียกว่า “เสื้อพระราชทาน”
สำหรับสุภาพสตรีคือชุดไทยจักรี (Chakri) จะเป็นชุดไทยที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควร ความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวม ใช้เครื่องประดับได้งดงามสมโอกาสในเวลาค่ำคืน
โดยชุดไทยพระราชนิยม แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้
1. ชุดไทยเรือนต้น
2. ชุดไทยจิตรลดา
3. ชุดไทยอมรินทร์
4. ชุดไทยบรมพิมาน
5. ชุดไทยจักรี
6. ชุดไทยจักรพรรดิ
7. ชุดไทยดุสิต
8. ชุดไทยศิวาลัย
เครื่องดนตรี
                                                                    
ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่งจำพวกเครื่องสาย มีขนาดใหญ่กว่าซอด้วงหรือซออู้ และมีลักษณะพิเศษ คือมีสามสาย มีคันชักอิสระ กะโหลกซอมีขนาดใหญ่ นับเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสง่างามชิ้นหนึ่งในวงเครื่องสาย ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของวง เป็นซอที่มีมาแต่โบราณ มีเสียงไพเราะ นุ่มนวล รูปร่างวิจิตรสวยงามกว่าซอชนิดอื่น เป็นเครื่องดนตรีชั้นสูงใช้ในราชสำนัก

ฆ้องวง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเพอร์คัสชัน ทำด้วยโลหะที่มีหลายรูปแบบ คำว่าฆ้องนั้นมีที่มาจากภาษาชวา ปรากฎการใช้ฆ้องในหลายชาติในทวีปเอเชีย เช่นจีน อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย เป็นต้น ปัจจุบันฆ้องเข้าไปมีส่วนในดนตรีตะวันตกด้วยเช่นกัน

ขิิม แต่เดิมนั้นเป็นเครื่องดนตรีประเทศจีน เริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยรัชการที่ 4 นักดนตรีของไทยได้ดัดแปลงแก้ไขโดยเปลี่ยนจากสายลวดมาเป็นสายทองเหลืองให้มี ขนาดโตขึ้น เทียบเสียงเรียงลำดับไปตลอดถึงสายต่ำสุด เสียงคู่แปดมือซ้ายและมือขวามีระดับเกือบจะตรงกัน เปลี่ยนไม้ตีให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นและก้านแข็งขึ้น หย่องที่หนุนสายีความหนากว่าเดิม เพื่อให้เกิดความสมดุลและเพื่อเพิ่มเสียงให้มีความดังมากยิ่งขึ้น และไม่ให้เสียงที่ออกมามีความแข็งกร้าวจนเกินไปให้ทาบหนังหรือสักหลาดตรง ปลายไม้ตี ส่วนที่กระทบกับสายทำให้เกิดความนุ่มนวลและได้รับความนิยม บรรเลงร่วมอยู่ในวงเครื่องสายผสมของไทยในปัจจุบัน

ระนาดเอก เป็นเครื่องดนตรีที่วิวัฒนาการมาจากกรับ โดยการนำเอากรับที่มีขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง สั้นบ้าง ยาวบ้าง นำมารวมกันเป็นชุมจึงมีระดับเสียงที่แตกต่างกัน ระนาดเอกนี้นักดนตรีนิยมเรียกกันสั้นๆว่า “ระนาด” เริ่มมีการนำเอาระนาดเอกมาประสมในวงดนตรีในสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนประกอบของระนาดเอกมีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วนใหญ่ คือ รางและผืนระนาด หน้าที่ในการบรรเลงระนาดเอกปสมร่วมอยู่ในวงมโหรี วงเครื่องสายผสมวงปีพาทย์ไม้นวม วงปีพาทย์นางหงส์ วงปีพาทย์ดึกดำบรรพ์ และวงปีพาทย์มอญ โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำของวง

ระนาดทุ้ม กำเนิดนามัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชการที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยประดิษฐขึ้นให้เป็นเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงงทุ้มต่ำกับระนาดเอกซึ่ง เป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงสูง ระนาดทุ้มผสมร่วมอยู่ในวงมโหรี วงปีพาทย์ไม้แข็ง วงปีพาทย์ไม้นวม วงปีพาทย์นางหงส์ วงปีพาทย์ดึก่ำบรรพ์ และวงปีพาทย์มอญ โดยทำหน้าที่บรรเลงหยอกล้อไปกับระนาดเอก เดินทำนองรองในทางของตนเองซึ่งจะมีจังหวะโยนล้อ ขัดที่ทำให้เกิดความไพเราะและเติมเต็มช่องว่างของเสียง อันเป็นเอกลักษณ์ของระนาดทุ้ม

กลองยาว เป็นเครื่องดนตรีสำหรับตีด้วยมือ ตัวกลองทำด้วยไม้มีลักษณะกลมกลวง ขึงด้วยหนังมีหลายชนิด ถ้าทำด้วยหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมากใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่ากลองยาวหรือเถิดเทิง เชื่อกันว่ากลองยาวได้แบบอย่างมาจากพม่า เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงร่วมมี ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง เรียกการเล่นชนิดนี้ว่า “เถิดเทิง” หรือ “เทิงกลองยาว” ที่เรียกเช่นนี้เข้าใจว่าเรียกตามเสียงกลองที่ตีและตามรูปลักษณะกลองยาว

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  :  http://instrumentasean.wordpress.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น