เรียนรู้อาเซียนเพิ่มเติม

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สมาชิก AEC : มาเลเซีย

สมาชิก AEC : มาเลเซีย

       
ธงประจำชาติ                                                                 ตราแผ่นดิน
มาเลเซีย (Malaysia)
ชื่อทางการ : มาเลเซีย (Malaysia)
ชื่อภาษาท้องถิ่น : เปร์เซกูตาน มาเลเซีย
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
               
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วยดินแดนสองส่วน โดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรก คือ มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู มีพรมแดนทิศเหนือติดประเทศไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ ประกอบด้วย 11 รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์ และปะลิส
ส่วนที่สอง คือ มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน) มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และมีพรมแดนล้อมรอบประเทศบรูไน ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาห์ และซาราวัก
นอกจากนี้ยังมีเขตการปกครองภายใต้สหพันธรัฐอีก 3 เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน
พื้นที่ : 329,758ตารางกิโลเมตร (ประมาณร้อยละ 64 ของไทย)
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ประชากร : 28.9 ล้านคน ประกอบด้วย ชาวมาเลย์กว่า 40% ที่เหลืออีกกว่า 33% เป็นชาวจีน อีก 10% เป็นชาวอินเดีย อีก 10% เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว อีก 5% เป็นชาวไทย และอื่นๆอีก 2%
ภาษา : มาเลย์ (Bahasa Malaysia เป็นภาษาราชการ) อังกฤษ จีน ทมิฬ
ศาสนา : อิสลาม (ศาสนาประจำชาติ ร้อยละ 60.4) พุทธ (ร้อยละ 19.2) คริสต์ (ร้อยละ 11.6) ฮินดู (ร้อยละ 6.3) อื่น ๆ (ร้อยละ 2.5)
ประมุข คือ สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน มีซาน ไซนัล อาบิดีน (พระนามเต็ม: อัล วาติกูร บิลลาห์ ตวนกู มิซาน ไซนัล อาบิดีน อิบนี อัลมาร์ฮุม สุลต่าน มาห์มัด อัล มัคตาฟิ บิลลาห์ ชาห์ ภาษาอังกฤษ : DYMM Al-Wathiqu Billah Tuanku Mizan Zainal Abidin Ibni Al-Marhum Sultan Mahmud Al-Muktafi Billah Shah) จากรัฐตรังกานู ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 13 ของมาเลเซีย (ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2549)
นายกรัฐมนตรี คือ ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ บิน ฮาจิ อาหมัด บาดาวี (Dato’ Seri Abdullah bin Haji Ahmad Badawi
ระบอบการปกครอง : สหพันธรัฐ โดมีสมเด็จพระราชาธิบดี (Yang di-Pertuan Agong)เป็นประมุข ซึ่งมาจากการเลือกตั้งเจ้าผู้ปกครองรัฐ 9 แห่ง (ยะโฮร์ ตรังกานู ปะหัง สลังงอร์ เกดะห์ กลันตัน เนกรีเซมบิลัน เประและปะลิส) และผลัดเปลี่ยนหมุดเวียนกันขึ้นดำรงตำแหน่ง วาระละ 5 ปี โดมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลสหพันธรัฐ และมุขมนตรีแห่งรัฐ (Menteri Besarในกรณีที่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ หรือChief Ministerในกรณีที่ไม่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ) เป็นหัวหน้ารัฐบาลแห่งรัฐ
เขตการปกครอง : มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองเป็น 13 รัฐ ได้แก่ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์ ปะลิส ซาบาห์และซาราวัก และ 3 ดินแดนสหพันธ์ ได้แก่ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน
วันชาติ  31 สิงหาคม
สกุลเงิน : ริงกิตมาเลเซีย (Malaysian Ringgit : MYR) (1 ริงกิตประมาณ 10.22 บาท )
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  191.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ประชาชาติต่อหัว  6,760 ดอลลาร์สหรัฐ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 6.8
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
     สินค้านำเข้าสำคัญ : ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ด้านการขนส่ง ผลิตภัณฑ์โลหะ
สินค้าส่งออกที่สำคัญ : ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันปาล์ม เคมีภัณฑ์ ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) น้ำมันดิบ
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ไทย
ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ : สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ไทย ฮ่องกง
คำทักทาย : ซาลามัต ดาตัง

ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Bunga raya หรือดอกพู่ระหง โดยทั้ง 5 กลีบดอกเป็นตัวแทน 5 หลักการแห่งความเป็นชาติของมาเลเซีย ซึ่งเป็นปรัชญาเพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ
อาหารยอดนิยมของประเทศมาเลเซีย
นาชิ เลอมัก (Nasi Lemak)

เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของมาเลเซีย เป็นข้าวผัดกับกะทิและสมุนไพร นาชิ เลอมัก เสิร์ฟพร้อมกับปลากะตักทอด แตงกวาหั่นไข่ต้มสุกและถั่วอบ นาชิ เลอมัก แบบดั่งเดิมจะห่อในใบตองและรับประทานเป็นอาหารเช้า
ชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย 
 

สำหรับชุดประจำชาติมาเลเซียของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาว และกระโปรงยาว
เครื่องดนตรี
                                                                     
Serunai
 เป็นเครื่องเป่าดั้งเดิมของชาวมาเลย์ เป็นเครื่องดนตรีที่มีนานและเล่นโดยชุมชนชาวมาเลย์ในรัฐกลันตันชายฝั่งทะเล ตะวันออกของมาเลเซีย ตัว serunai มีรูที่ใช้นิ้วปิดข้างหน้า 7 รู ข้างหลัง 1 รู จะสร้างเสียงผ่านรูต่าง ๆ เป่าไปพร้อม ๆ กับการแสดงวายัง กุลิด (การเล่นหนังตะลุง) หรือวงมโหรีหลวง
                                          
Rebab
 เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของชาวมาเลย์ประเภทเครื่องดีดสาม สาย ส่วนโค้งของตัวเครื่องที่ยื่นออกไปเป็นไม้เนื้อแข็งรูปสามเหลี่ยม มักจะทำจากไม้ของต้นขนุน ด้านหน้าตัวเครื่องปิดด้วยแผ่นกระเพาะด้านในของวัว ใช้ก้อนขี้ผึ้งเล็กๆยึดกับส่วนตัวเครื่องด้านบนทางซ้ายมือเพื่อขึงหน้าให้ ตึง
                                                                   
Sape
 เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกีตาร์ Sape ถูกทำให้โค้งงอด้วยลำไม้ เครื่องดนตรีสมัยใหม่จำนวนมากมักจะมีความยาวเป็นเมตร Sape เป็นเครื่องดนตรีแบบที่เรียบง่าย เส้นแต่ละเส้นจะเป็นหนึ่งเสียง ส่วนเส้นที่เสริมเข้ามาจะถูกดีดเพื่อให้เกิดเสียงต่ำ ดนตรี Sape มักจะได้รับแรงบันดาลใจจากความฝัน
                                                
Kulintangan
 เป็นเครื่องดนตรีที่นำเข้ามาทางตะวันตกของซาบาห์โดย ชาวบรูไน แต่เป็นเครื่องดนตรีโบราณของชาว Bajaus ชาว Dusun และชาว Kadazan มักใช้เล่นในวันงานเทศกาล เช่น งานแต่งงานและพิธีกรรมทางศาสนาจะใช้เล่นร่วมกับฆ้อง (gong) พื้นเมืองชนิดอื่น ๆ Kulintangan ประกอบด้วยฆ้องเล็ก ๆ 8-9 ลูก วางเรียงต่อกันตามระดับทำนอง ผู้เล่นจะนั่งบนพื้นหน้าเครื่องดนตรีและตีด้วยไม้ที่ถูกหุ้มด้วยผ้าเล็ก ๆ
                                                       
Drum
 เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลอง

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  :  http://instrumentasean.wordpress.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น