เรียนรู้อาเซียนเพิ่มเติม

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สมาชิก AEC : สหภาพพม่า


สมาชิก AEC : สหภาพพม่า

   
ธงประจำชาติ                                                                 ตราแผ่นดิน
สหภาพพม่า (Union of Myanmar)
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (The Republic of the Union of Myanmar)
เมืองหลวง : นครเนปิดอว์ (Nay Pyi Taw) (มีความหมายว่า มหาราชธานี) เป็นเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางการบริหารของสหภาพพม่าที่ได้ย้ายมาจาก ย่างกุ้ง ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัตปแว (Kyatpyae) ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองเปียนมานา (Pyinmana) ในเขตมัณฑะเลย์ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาโดยรอบ เมืองนี้เป็นเมืองเดียวของประเทศพม่าที่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งในขณะที่เมืองหลวงเก่าย่างกุ้งจะไฟฟ้าดับอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เมืองนี้อยู่ห่างย่างกุ้งไปทางเหนือประมาณ 320 กิโลเมตร ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งทางการพม่านั้นต้องการ เมืองนี้เริ่มมีการสร้างสิ่งต่าง ๆ บ้างแล้ว เช่น อพาร์ตเมนท์ ซึ่งคนพอมีเงินที่จะมาซื้ออยู่อาศัย เริ่มมีประชาชนอพยพมาอาศัยอยู่หลายหมื่นคน แต่เมืองหลวงแห่งนี้ ยังไม่มีโรงเรียน โรงพยาบาล เปรียบเสมือนเมืองทหาร ซึ่งกำลังก่อสร้างต่อไป

ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 28 องศา 30 ลิปดา ถึง 10 องศา 20 ลิปดาเหนือ ภูมิประเทศตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทำให้มีชายฝั่งทะเลยาว ถึง 2,000 ไมล์ ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับจีน (2,185 กิโลเมตร) ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับลาว (235 กิโลเมตร) และไทย (2,401 กิโลเมตร) ทิศตะวันตกติดกับอินเดีย (1,463 กิโลเมตร)และบังกลาเทศ (193 กิโลเมตร)ทิศใต้ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล
พื้นที่ : 657,740 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1.3 เท่าของไทย)
ภูมิอากาศ : สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ในบริเวณที่เป็นเทือกเขาสูงทางตอนกลางและตอนเหนือของ ประเทศจะมีอากาศแห้งและร้อนมากในฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวอากาศจะเย็นมาก ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำจะแปรปรวนในช่วงเปลี่ยนฤดู เพราะได้รับอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นเสมอ ทำให้บริเวณนี้มีฝนตกชุกหนาแน่นมากกว่าตอนกลางหรือตอนบนของประเทศที่เป็นเขต เงาฝน ข้อแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยว คือ ควรเดินทางในช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ เพราะฝนไม่ตก และอากาศไม่ร้อนจนเกินไปนัก
ประชากร : ประมาณ 56 ล้านคน (พ.ศ.2548) มีเผ่าพันธุ์ 135 เผ่าพันธุ์ ประกอบด้วย เชื้อชาติหลัก ๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า (ร้อยละ 68) ไทยใหญ่ (ร้อยละ 8) กะเหรี่ยง (ร้อยละ 7) ยะไข่ (ร้อยละ 4) จีน (ร้อยละ 3) มอญ (ร้อยละ 2) อินเดีย (ร้อยละ 2)
ภาษา : ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ
ศาสนา : ศาสนาพุทธ (พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 2517) ร้อยละ 90 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 5 ศาสนาอิสลามร้อยละ 3.8 ศาสนาฮินดูร้อยละ 0.05
ประมุข  นายเต็ง เส่ง (U Thein Sein)
หมายเหตุ* พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย (Senior General Than Shwe) อดีตประมุข ซึ่งยังคงดำรงยศทางทหาร แต่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางกฎหมายตามรัฐธรรมนูญเมียนมาร์
ผู้นำรัฐบาล  นายเต็ง เส่ง (General Thein Sein) (ประธานาธิบดี)
ระบอบการปกครอง : รัฐสภาที่สมาชิกมาจากการเลือกตั้ง โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขประเทศและหัวหน้ารัฐบาล
เขตการปกครอง : แบ่งการปกครองเป็น 7 รัฐ (state) สำหรับเขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย และ 7 ภาค (region) สำหรับเขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายพม่า
วันชาติ  4 มกราคม ค.ศ. 1948 (2491)
หน่วยเงินตรา : จ๊าด (Kyat : MMK) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 725 จั๊ตเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 24 จั๊ตเท่ากับประมาณ 1 บาท (ณ เดือนกันยายน 2554)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  49,079 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2555)
รายได้ประชาชาติต่อหัว  2,858 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2553)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 3.3 (ปี 2553)
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
    สินค้านำเข้าสำคัญ : ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม สินค้าแปรรูป สินค้าอาหาร
สินค้าส่งออกที่สำคัญ : ก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ ไม้ซุง
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : จีน สิงคโปร์ ไทย
ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ : ไทย อินเดีย จีน
ชื่อภาษาท้องถิ่น – ปี่เด่าง์ซุ มยะหม่า ไหน่หงั่นด่อ
คำทักทาย – มิงกาลาบา

ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Paduak หรือดอกประดู่ ผลิดอกสีเหลืองทอง และส่งกลิ่นหอมหลังฤดูฝนแรกของเดือนเมษายน
อาหารยอดนิยมของพม่า
“หล่าเพ็ด” (Lahpet)
          
หล่าเพ็ด คือ ใบชาหมักทานกับเครื่องเคียง เช่น กระเทียมเจียว ถั่วชนิดต่างๆ งาคั่ว กุ้งแห้ง ขิง มะพร้าวคั่ว เป็นต้น จัดว่าเป็นอาหารว่างคล้ายกับยำเมี่ยงคำของไทย หล่าเพ็ดถือว่าเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ในโอกาสพิเศษหรือเทศกาลสำคัญๆ รวมทั้งงานเลี้ยงหรืองานเฉลิมฉลอง
ชุดประจำชาติของประเทศพม่า


ชุดประจำชาติของชาวพม่าเรียกว่า ลองยี (Longyi) เป็น ผ้าโสร่งที่นุ่งทั้งผู้ชายและผู้หญิง ในวาระพิเศษต่าง ๆ ผู้ชายจะใส่เสื้อเชิ้ตคอปกจีนแมนดารินและเสื้อคลุมไม่มีปก บางครั้งจะใส่ผ้าโพกศีรษะที่เรียกว่า กอง บอง (Guang Baung) ด้วย ส่วนผู้หญิงพม่าจะใส่เสื้อติดกระดุมหน้าเรียกว่า ยินซี (Yinzi) หรือเสื้อติดกระดุมข้างเรียกว่า ยินบอน (Yinbon) และใส่ผ้าคลุมไหล่ทับ
เครื่องดนตรี

Saung เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมือง Saung มีลักษณะเฉพาะ มีจุดเด่นตรงที่เป็นพิณโบราณของชาวพื้นเมืองที่ยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้
                                             
Myanma saing waing หรือที่เรียกว่าวงมโหรีของพม่า ซี่งมีกลิ่นอายของวงออเคสตร้า นิยมเล่นในอาคาร

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  :  http://instrumentasean.wordpress.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น