เรียนรู้อาเซียนเพิ่มเติม

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สมาชิก AEC : บรูไน ดารุสซาลาม

สมาชิก AEC : บรูไน ดารุสซาลาม

สมาชิก AEC : บรูไน ดารุสซาลาม

  
                               ธงประจำชาติ                                                                 ตราแผ่นดิน
บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
ชื่อทางการ : เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข)
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan)

ที่ตั้ง : ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว (ละติจูดที่ 5 เหนือเส้นศูนย์สูตร) แบ่งเป็นสี่เขต คือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong และเขต Tutong
พื้นที่ : 5,765 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้เขตร้อน
ภูมิอากาศ : อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก ฝนตกหนักสุดช่วงเดือนกันยายนถึงมกราคม และพฤษภาคมถึงกรกฎาคม อากาศเย็นสบายที่สุดจะอยู่ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส ภูมิอากาศ
ประชากร :  414,000 คน (ปี 2553)
ภาษา : ภาษามาเลย์(Malay หรือ Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ศาสนา : ศาสนาประจำชาติ คือ อิสลาม 67%, พุธ 13%, คริสต์ 10%และฮินดู (10%)
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดี ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah)สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 29
ผู้นำรัฐบาล : สมเด็จพระราชาธิบดี ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah)สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 29
ระบบการปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็น องค์ประมุขผู้นำรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 1 มกราคม 2527 กำหนดให้สมเด็จพระราชาธิบดีทรงเป็นอธิปัตย์ คือ เป็นทั้งประมุขและนายกรัฐมนตรี
สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันยังทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย
วันชาติ  23 กุมภาพันธ์
หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์(Brunei Dollar : BND) 1 บรูไนดอลลาร์ ประมาณ 24.23 บาท (ค่าเงินบรูไนมีความมั่นคงและใช้อัตราแลกเปลี่ยนเดียวกับเงินสิงคโปร์ และสามารถใช้เงินสิงคโปร์ในบรูไนได้ทั่วไป)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  12.0 พันล้าน USD (ไทย: 361.8 พันล้านUSD)
รายได้ประชาชาติต่อหัว  28,340 USD (ไทย: 5,351.6USD)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 3.1 (2553)
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
     สินค้านำเข้าสินค้า : เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเกษตร อาที ข้าวและผลไม้
สินค้าส่งออกสำคัญ : น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ
ตลาดส่งออกที่สำคัญ : ญี่ปุ่น อาเซียน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
คำทักทาย  – ซาลามัต ดาตัง

ดอกไม้ประจำชาติ :  ดอก Simpor (Dillenia Suffruticosa) เป็นดอกไม้ที่มีกลีบดอกขนาดใหญ่สีเหลือง เมื่อบานเต็มที่กลีบดอกจะบานคล้ายกับร่ม

อาหารยอดนิยมของประเทศบรูไนดารุสซาลาม

“อัมบูยัต”(Ambuyat)


มีลักษณะเด่นคือ เหนียวข้นคล้ายข้าวต้มหรือโจ๊ก ไม่มีรสชาติ มีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก วิธีทานจะใช้แท่งไม้ไผ่ 2 ขาซึ่งเรียกว่า chandas ม้วนแป้งรอบๆ แล้วจุ่มในซอสผลไม้เปรี้ยวที่เรียกว่า cacah หรือซอสที่เรียกว่า cencalu ซึ่งทำจากกะปิ ทานคู่กับเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น เนื้อห่อใบตองย่าง เนื้อทอด เป็นต้น การรับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติ ต้องทานร้อนๆ และกลืน โดยไม่ต้องเคี้ยว
ชุดประจำชาติของประเทศบรูไน
  
ชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู(Baju Melayu) ผู้ชาย จะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง ผู้ชายมุสลิมแต่งกายเป็นทางการทั้งในสถานที่ราชการและที่สาธารณะ ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจู กุรุง (Baju Kurung) คล้าย กับชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสโดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้า ที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ผู้หญิงมุสลิมจะสวมผ้าคลุมศีรษะในที่สาธารณะและในสถานที่ราชการ
เครื่องดนตรี
                                               
Tawak Tawak เป็นเครื่องดนตรีผลิตจากทองเหลือง พบที่ซาราวักบนเกาะบอร์เนียว เครื่องดนตรีที่ทำจากทองเหลืองของบรูไน ดารุสซาลามและที่อื่น ๆ บนเกาะบอร์เนียวในสมัยก่อนนั้นโดยมากมักจะได้รับอิทธิพลจากประเทศจีน เห็นได้จากการที่มีลวดลายด้านหน้าเป็นรูปมังกรและสัตว์ทะเล ปูและปลา ขอบด้านข้างเป็นรูปจระเจ้และปลา ครั้งหนึ่ง Tawak Tawak ใช้เป็นสัญญาณเรียกคนให้มารวมตัวกันไม่ได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของวงมโหรี Gamelan เหมือนเช่นในอินโดนีเซีย

Gambus เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกีตาร์ มีสายทั้งหมด 12 เส้น ดีดด้วยปิ๊ก ไม่เหมือนกับเครื่องดนตรีตะวันตก เช่น แมนโดลินตรงที่ Gambus ไม่มีลายสลัก การปรับเสียงและรูปแบบการเล่นของ Gambus นั้นมีส่วนคล้ายคลึงกับเครื่องดนตรีของชาวอาหรับ

Gandang เป็นคำทั่วไปที่ใช้แสดงความหมายถึงกลองทุกชนิด ตัวกลองมีขนาดยาว ผิวหน้าของกลองมีสองด้าน ซึ่งมีขนาดต่างกัน ทำมาจากหนังแกะหรือหนังวัว หนังกลองแนบชิดไปกับตัวกลองด้วยเส้นหวาย Gandang จะพบได้ที่กลุ่มของ Gamelan ของชาวชวาในรัฐยะโฮร์ Gandang มลายูเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญในการแสดงดนตรีในโรงมหรสพ เช่นเดียวกับ Gamelan

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  :  http://instrumentasean.wordpress.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น