เรียนรู้อาเซียนเพิ่มเติม

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สมาชิก AEC : บรูไน ดารุสซาลาม

สมาชิก AEC : บรูไน ดารุสซาลาม

สมาชิก AEC : บรูไน ดารุสซาลาม

  
                               ธงประจำชาติ                                                                 ตราแผ่นดิน
บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
ชื่อทางการ : เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข)
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan)

ที่ตั้ง : ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว (ละติจูดที่ 5 เหนือเส้นศูนย์สูตร) แบ่งเป็นสี่เขต คือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong และเขต Tutong
พื้นที่ : 5,765 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้เขตร้อน
ภูมิอากาศ : อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก ฝนตกหนักสุดช่วงเดือนกันยายนถึงมกราคม และพฤษภาคมถึงกรกฎาคม อากาศเย็นสบายที่สุดจะอยู่ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส ภูมิอากาศ
ประชากร :  414,000 คน (ปี 2553)
ภาษา : ภาษามาเลย์(Malay หรือ Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ศาสนา : ศาสนาประจำชาติ คือ อิสลาม 67%, พุธ 13%, คริสต์ 10%และฮินดู (10%)
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดี ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah)สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 29
ผู้นำรัฐบาล : สมเด็จพระราชาธิบดี ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah)สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 29
ระบบการปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็น องค์ประมุขผู้นำรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 1 มกราคม 2527 กำหนดให้สมเด็จพระราชาธิบดีทรงเป็นอธิปัตย์ คือ เป็นทั้งประมุขและนายกรัฐมนตรี
สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันยังทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย
วันชาติ  23 กุมภาพันธ์
หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์(Brunei Dollar : BND) 1 บรูไนดอลลาร์ ประมาณ 24.23 บาท (ค่าเงินบรูไนมีความมั่นคงและใช้อัตราแลกเปลี่ยนเดียวกับเงินสิงคโปร์ และสามารถใช้เงินสิงคโปร์ในบรูไนได้ทั่วไป)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  12.0 พันล้าน USD (ไทย: 361.8 พันล้านUSD)
รายได้ประชาชาติต่อหัว  28,340 USD (ไทย: 5,351.6USD)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 3.1 (2553)
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
     สินค้านำเข้าสินค้า : เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเกษตร อาที ข้าวและผลไม้
สินค้าส่งออกสำคัญ : น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ
ตลาดส่งออกที่สำคัญ : ญี่ปุ่น อาเซียน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
คำทักทาย  – ซาลามัต ดาตัง

ดอกไม้ประจำชาติ :  ดอก Simpor (Dillenia Suffruticosa) เป็นดอกไม้ที่มีกลีบดอกขนาดใหญ่สีเหลือง เมื่อบานเต็มที่กลีบดอกจะบานคล้ายกับร่ม

อาหารยอดนิยมของประเทศบรูไนดารุสซาลาม

“อัมบูยัต”(Ambuyat)


มีลักษณะเด่นคือ เหนียวข้นคล้ายข้าวต้มหรือโจ๊ก ไม่มีรสชาติ มีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก วิธีทานจะใช้แท่งไม้ไผ่ 2 ขาซึ่งเรียกว่า chandas ม้วนแป้งรอบๆ แล้วจุ่มในซอสผลไม้เปรี้ยวที่เรียกว่า cacah หรือซอสที่เรียกว่า cencalu ซึ่งทำจากกะปิ ทานคู่กับเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น เนื้อห่อใบตองย่าง เนื้อทอด เป็นต้น การรับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติ ต้องทานร้อนๆ และกลืน โดยไม่ต้องเคี้ยว
ชุดประจำชาติของประเทศบรูไน
  
ชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู(Baju Melayu) ผู้ชาย จะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง ผู้ชายมุสลิมแต่งกายเป็นทางการทั้งในสถานที่ราชการและที่สาธารณะ ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจู กุรุง (Baju Kurung) คล้าย กับชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสโดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้า ที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ผู้หญิงมุสลิมจะสวมผ้าคลุมศีรษะในที่สาธารณะและในสถานที่ราชการ
เครื่องดนตรี
                                               
Tawak Tawak เป็นเครื่องดนตรีผลิตจากทองเหลือง พบที่ซาราวักบนเกาะบอร์เนียว เครื่องดนตรีที่ทำจากทองเหลืองของบรูไน ดารุสซาลามและที่อื่น ๆ บนเกาะบอร์เนียวในสมัยก่อนนั้นโดยมากมักจะได้รับอิทธิพลจากประเทศจีน เห็นได้จากการที่มีลวดลายด้านหน้าเป็นรูปมังกรและสัตว์ทะเล ปูและปลา ขอบด้านข้างเป็นรูปจระเจ้และปลา ครั้งหนึ่ง Tawak Tawak ใช้เป็นสัญญาณเรียกคนให้มารวมตัวกันไม่ได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของวงมโหรี Gamelan เหมือนเช่นในอินโดนีเซีย

Gambus เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกีตาร์ มีสายทั้งหมด 12 เส้น ดีดด้วยปิ๊ก ไม่เหมือนกับเครื่องดนตรีตะวันตก เช่น แมนโดลินตรงที่ Gambus ไม่มีลายสลัก การปรับเสียงและรูปแบบการเล่นของ Gambus นั้นมีส่วนคล้ายคลึงกับเครื่องดนตรีของชาวอาหรับ

Gandang เป็นคำทั่วไปที่ใช้แสดงความหมายถึงกลองทุกชนิด ตัวกลองมีขนาดยาว ผิวหน้าของกลองมีสองด้าน ซึ่งมีขนาดต่างกัน ทำมาจากหนังแกะหรือหนังวัว หนังกลองแนบชิดไปกับตัวกลองด้วยเส้นหวาย Gandang จะพบได้ที่กลุ่มของ Gamelan ของชาวชวาในรัฐยะโฮร์ Gandang มลายูเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญในการแสดงดนตรีในโรงมหรสพ เช่นเดียวกับ Gamelan

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  :  http://instrumentasean.wordpress.com/

สมาชิก AEC : อินโดนีเซีย

สมาชิก AEC : อินโดนีเซีย

      
ธงประจำชาติ                                                            ตราแผ่นดิน
อินโดนีเซีย (Indonesia)
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
เมืองหลวง : จาการ์ตา (Jakarta)

ที่ตั้ง : อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่องแคบที่สำคัญต่างๆ เช่น ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่องแคบล็อมบอก ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
พื้นที่ : พื้นที่ทางบก 1,904,443 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทางทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร (รวมพื้นที่ทั้งหมด 5,070,606 ตารางกิโลเมตร) เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อย กว่า 17,508 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ
หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วย เกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี
หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์
หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี
อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี
ภูมิอากาศ : มีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และ ฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน)
ประชากร : ประมาณ 243 ล้านคน (2553) ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม ซึ่งพูดภาษาต่างกันกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
ภาษา : ภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia
ศาสนา : อิสลามร้อยละ 85.2 คริสต์นิกายโปรแตสแตนร้อยละ 8.9 คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกร้อยละ 3 ฮินดูร้อยละ 1.8 พุทธร้อยละ 0.8 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.3
ประธานาธิบดี คือ ดร.ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono)
ระบอบการปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร (ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2552
เขตการปกครอง  30 จังหวัด และเขตการปกครองพิเศษ 3 เขต ได้แก่ กรุงจาการ์ตา เมืองยอกยาการ์ตา และจังหวัดอาเจห์
วันชาติ  17 สิงหาคม
หน่วยเงินตรา : รูเปียห์ (Rupiah : IDR) (10,000 รูเปียห์ ประมาณ 35บาท)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  706.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ประชาชาติต่อหัว  4,222 ดอลลาร์สหรัฐ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 6.1
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
สินค้านำเข้าสำคัญ: น้ำมัน เหล็ก ท่อเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ เคมีภัณฑ์
สินค้าส่งออกที่สำคัญ: ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ ถ่านหิน เครื่องใช้ไฟฟ้า ยางพารา
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ: สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา
ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ : EU ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน สิงคโปร์
ชื่อภาษาท้องถิ่น – เนการา เคซาตวน เรปูบลิก อินโดเนเซีย
คำทักทาย – ซาลามัต เซียง
                                                       
ดอกไม้ประจำชาติ
 : ดอก Moon Orchid หรือกล้วยไม้ราตรี เป็นกล้วยไม้สายพันธ์ Phalaenopsis Amabilis
อาหารยอดนิยมของอินโดนีเซีย 
“กาโด กาโด”(Gado Gado)

อาหารสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ ประกอบไปด้วยผักและธัญพืช เช่น มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว เสริมโปรตีนด้วยเต้าหู้และไข่ต้ม รับประทานคู่กับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ ซึ่งใกล้เคียงกับสลัดแขก ของประเทศไทย
ชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย


เกบาย่า (Kebaya) เป็นชุดประจำชาติของประเทศ อินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาว ผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติก ส่วนการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาวหรือเต ลุก เบสคาพ (Teluk Beskap) ซึ่งเป็นการแต่งกายแบบผสมผสานระหว่างเสื้อคลุมสั้นแบบชวาและโสร่ง และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด
เครื่องดนตรี
                                                            
Gamelan
 เป็นกลุ่มของเครื่องดนตรีประกอบด้วยเครื่องดนตรีหลากหลาย ชนิด เช่น metallophones, xylophones และ gongs ขลุ่ยไม้ไผ่ อาจมีนักร้องด้วยก็ได้ คำว่า “Gamelan” มาจากคำของชาวชวา คำว่า “ gamel” มีความหมายว่า ตี หรือ เคาะ และตัวท้าย “an” ใส่เพื่อทำให้นามนั้นเป็นพหูพจน์
                                                         
Angklung
 เป็นเครื่องดนตรีที่ทำมาจากท่อไม้ไผ่ 2 ชิ้นแนบกับโครงไม้ไผ่ท่อ มีลักษณะเป็นวงโค้งเวลาเขย่าจึงเกิดเสียงก้องกังวาน ฐานของโครงนั้นจะถูกยึดกุมด้วยมือเดียว ขณะที่อีกมือหนึ่งเขย่าอย่างเร็วจากด้านหนึ่งไปด้านหนึ่ง Angklung ทั้งสามอันหรือมากกว่านั้นจะแสดงเป็นกลุ่ม แต่ละอันจะเล่นเพียงโน้ตเดียว และเมื่อเสียงของแต่ละอันรวมกันก็จะเกิดเป็นท่วงทำนองหลักขึ้น Angklung ได้รับความนิยมทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มีถิ่นกำเนินที่อินโดนีเซีย (ชาวชุนดาใช้และเล่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ)
                                                      
Gambang
 หรือที่เรียกว่า Gambang kayu (Gambang ไม้) เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกับระนาดที่ใช้ในหมู่ชาวอินโดนีเซียและทาง ตอนใต้ของฟิลิปปินส์ ในวงมโหรี Gamelan และ Kulintang

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  :  http://instrumentasean.wordpress.com/

สมาชิก AEC : สิงคโปร์

สมาชิก AEC : สิงคโปร์


             
ธงประจำชาติ                                                               ตราแผ่นดิน
สิงคโปร์ (Singapore)
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)
เมืองหลวง : สิงคโปร์

ที่ตั้ง : เป็นนครรัฐ ที่ตั้งอยู่บนเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ละติจูด 1°17’35″ เหนือ ลองจิจูด 103°51’20″ ตะวันออก ตั้งอยู่ทางใต้สุดของคาบสมุทรมาเลย์ อยู่ทางใต้ของรัฐยะโฮร์ (Johor Bahru)ของประเทศมาเลเซีย และอยู่ทางเหนือของเกาะเรียล(Riau)ของประเทศอินโดนีเซีย
พื้นที่ : ประกอบด้วยเกาะสิงคโปร์และเกาะใหญ่น้อยบริเวณใกล้เคียง 63 เกาะ มีพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 697 ตารางกิโลเมตร (ประมาณเกาะภูเก็ต) เกาะสิงคโปร์เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวจากทิศตะวันตกไปตะวันออก ประมาณ 42 กิโลเมตร และความกว้างจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ประมาณ 23 กิโลเมตร
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น มีฝนตกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 26.8 องศาเซลเซียส
ประชากร : 5.08 ล้านคน ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
ภาษา : ภาษาทางราชการ คือ ภาษามาเลย์ (ภาษาประจำชาติ) จีนกลาง (แมนดาริน) ทมิฬ และอังกฤษ สิงคโปร์ส่งเสริมให้ประชาชนพูด 2 ภาษา โดยเฉพาะจีนกลาง ในขณะที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่องานและในชีวิตประจำวัน
ศาสนา : พุทธ 42.5% อิสลาม 14.9% คริสต์ 14.5% ฮินดู 4% ไม่นับถือศาสนา 25%
ประธานาธิบดี คือ นายโทนี ตัน
นายกรัฐมนตรี คือ นายลี เซียน ลุง (Lee Hsien Loong) (12 สิงหาคม 2547)
ระบอบการปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา (Parliamentary Parliament) มีสภาเดียว (Unicameral parliament) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ (วาระ 6 ปี) และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล/หัวหน้าฝ่ายบริหาร (วาระ 5 ปี) โดยการเลือกตั้งครั้งล่าสุด คือเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2554 โดยนายลี เซียน ลุงหัวหน้าพรรค PAP ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด และได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่ออีกสมัย
วันชาติ  9 สิงหาคม (แยกตัวจากสหพันธรัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2508)
หน่วยเงินตรา : ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar : SGD) (1 SGD ประมาณ 23.47 บาท)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  259.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ประชาชาติต่อหัว  50,123 ดอลลาร์สหรัฐ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 4.9
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
    อุตสาหกรรมหลัก : การผลิต การก่อสร้าง การคมนาคมขนส่งและโทรคมนาคม การเงินและการธนาคาร การบริการอื่นๆ
สินค้าส่งออกที่สำคัญ : เครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้า
สินค้านำเข้าที่สำคัญ : เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และไทย
ชื่อภาษาท้องถิ่น ภาษาอังกฤษ -รีพับลิก ออฟ สิงคโปร์
ภาษาจีน – ซินเจียโพ ก่งเหอกั๋ว
คำทักทาย – หนีห่าว
                           
ดอกไม้ประจำชาติ
 : ดอก Vanda Miss Joaquim เป็นดอกกล้วยไม้ซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ โดยตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ มีสีม่วงและรูปลักษณ์ที่สวยงาม
อาหารยอดนิยมของประเทศสิงคโปร์
ลักสา (Laksa)

เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ) มีลักษณะคล้ายกับข้าวซอยของไทย โดยเส้นก๋วยเตี๋ยวจะมีลักษณะคล้าย vermicelli ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นสปาเกตตี้ของอิตาลี
ชุดประจำชาติของประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์ไม่มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เนื่องจากประเทศสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 4 เชื้อชาติหลัก ๆ ได้แก่ จีน มาเลย์ อินเดีย และชาวยุโรป ซึ่งแต่ละเชื้อชาติก็มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เช่น ผู้หญิงมลายูในสิงคโปร์ จะใส่ชุดเกบาย่า (Kebaya) ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ หากเป็นชาวจีน ก็จะสวมเสื้อแขนยาว คอจีน เสื้อผ้าหน้าซ่อนกระดุม สวมกางเกงขายาว โดยเสื้อจะใช้ผ้าสีเรียบหรือผ้าแพรจีนก็ได้
เครื่องดนตรี
                                                        
Dizi
 เป็นขลุ่ยจีนดั้งเดิมมีปุ่ม 3 ปุ่ม อาจจะมีแผ่นบาง ๆ เพื่อปิดรูไว้เพื่อทำให้เกิดเสียงรัว เชื่อกันว่า Dizi นำมาจากทิเบตในช่วงยุคราชวงค์ฮั่นและตั้งแต่นั้นมาก็มีการใช้ในประเทศจีนมา เป็นเวลากว่า 2 พันปีแล้ว ผู้เล่นจะมีเทคนิคในการเป่ามากมาย ซึ่งก็จะทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างกันไป
                                                                     
Erhu
 เกิดขึ้นในประเทศจีนในสมัยรัชวงศ์ถัง เป็นซอสองสายที่เล่นบนตัก เส้นสายจะมีระดับเสียง 5 ระดับ ใช้คันชักในการสี มีรูปแบบหลายชนิดโดยรูปร่างและกล่องเสียงก็จะแตกต่างกันออกไป Erhu กลายมาเป็นเครื่องดนตรีหลักในอุปรากรจีน
                                                                
Gaohu
 เป็นเครื่องดนตรีหลักของเพลงกวางตุ้งและเพลงอุปรากรจีน Gaohu มีลักษณะคล้ายกับ Erhu แต่มีกล่องเสียงที่มีน้ำหนักเบากว่า โดยทั่วไปกล่องเสียงจะเป็นวงกลม และมีระดับเสียงที่สูงกว่าคือ 5 ระดับด้วยกัน และมีเสียงที่กังวานกว่าเมื่อเทียบกับ Erhu
                                                    
Veena
 เป็นเครื่องดีดที่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในดนตรี Carnatic (ดนตรีที่เล่นกันทางตอนใต้ของอินเดีย) รูปแบบของ Veena มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปผู้ที่เล่น Veena เราจะเรียกเขาว่า Vainika
                                                                      
Zhongruan
 เป็นเครื่องดีดของจีนที่อาจจะใช้นิ้วหรือปิ๊กดีดก็ได้ มีลักษณะคล้ายกับ pipa มีคอตั้งตรง มีกล่องเสียงเป็นวงกลมและมีลวดลายสลัก
                                                         
Guzheng
 เป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของจีน เป็นแม่แบบของ koto เครื่องดนตรีญี่ปุ่น yatga เครื่องดนตรีของมองโกเลีย และKayageum เครื่อง ดนตรีของเกาหลีแม่แบบของ Guzheng คือ se (เครื่องดนตรีประเภทสายโบราณของจีน) สายของมันแต่เดิมแล้วทำด้วยไหม จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นสายโลหะและเหล็กที่พันด้วยไนลอนตามลำดับ จำนวนสายของ Guzheng จะมีจำนวนไม่แน่นอนอย่างน้อยที่สุดมี 6 เส้น หรือมากที่สุด 23 เส้น
                                                       
Yangqin
 เป็นเครื่องดนตรีที่คล้ายขิมของประเทศไทย แต่เดิมแล้วมาจากประเทศแถบตะวันออกกลาง มีรูปแบบแตกต่างกันไป เป็นที่นิยมไม่เพียงแต่เฉพาะในประเทศจีน แต่ยังนิยมในยุโรปกลาง ตะวันออกกลาง อินเดียและปากีสถานอีกด้วย Yangqin ใช้เล่นอยู่ในวงหรือเล่นเดี่ยวก็ได้
                                                                     
Konghou
 ลักษณะเด่นที่ Konghou ต่างจากพิณคอนเสิร์ตในตะวันตกคือ สายของ Konghou จะถูกพับเพื่อทำให้เกิดแถวสองแถว ซึ่งทำให้ผู้เล่นสามารถใช้เทคนิคการเล่นชั้นสูงได้ สายที่มีสองแถวนั้นยังเหมาะกับการเล่นจังหวะเร็วและเสียงประกอบด้วย
                                                     
Pipa
 บางครั้งเรียก ขลุ่ยจีน มีรูปร่างเหมือนผลแพร์ ใช้เป็นเครื่องดนตรีมาเป็นเวลายาวนานกว่า 2 พันปีในจีน วิธีการเล่น คือใช้ทุกนิ้วข้างขวายกเว้นนิ้วหัวแม่มือกดสายจากขวาไปซ้าย และใช้นิ้วหัวแม่มือขวาดีดจากซ้ายไปขวา เมื่อเริ่มแรกสายจะถูกดีดด้วยปิ๊กอันใหญ่ จากนั้นก็ค่อยๆเปลี่ยนมาใช้นิ้วข้างขวาแทน

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  :  http://instrumentasean.wordpress.com/

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สมาชิก AEC : เวียดนาม

สมาชิก AEC : เวียดนาม

      
ธงประจำชาติ                                                              ตราแผ่นดิน
เวียดนาม (Vietnam)
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย(Hanoi)

ที่ตั้ง : เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออก
พื้นที่ : 331,690 ตารางกิโลเมตร (ประมาณพื้นที่ 3 ใน 5 ของไทย)
ภูมิอากาศ : เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่าน ทะเลจีนใต้ ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน จึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาว สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง (ฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นประเทศที่มีความชื้นประมาณ 84 % ตลอดปี มีปริมาณฝน จาก 120 ถึง 300 เซนติเมคร(47 ถึง 118 นิ้ว) และมีอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 5°C (41°F) ถึง 37°C (99°F)
ประชากร : 89.57 ล้านคน (2553) เป็น เวียด 80% เขมร 10 %(บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศ) ต่าย 1.9% ไท 1.74% เหมื่อง 1.49% ฮั้ว(จีน) 1.13% นุง 1.12% ม้ง 1.03%
ภาษา : ภาษาเวียดนาม (Vietnamese) เป็นภาษาราชการ ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2463 วงการวิชาการเวียดนามได้ลงประชามติที่จะใช้ตัวอักษรโรมัน (quoc ngu) แทนตัวอักษรจีน (Chu Nom) ในการเขียนภาษาเวียดนาม
ศาสนา : ไม่มีศาสนาประจำชาติ เนื่องจากปกครองโดยระบอบสังคมนิยม (มีผู้แสดงตนว่านับถือศาสนาต่างๆ 15.65 ล้านคน โดยศาสนาพุทธ (มหายาน) มีจำนวนผู้นับถือมากที่สุด (ร้อยละ 9.3)
ประมุข-ประธานาธิบดี คือ  นายเจือง เติน ซาง (Truong Tan Sang)
หัวหน้ารัฐบาล-นายกรัฐมนตรี คือ นายเหวียน เติน สุง (Nguyen Tan Dung) นายกรัฐมนตรี
ระบอบการปกครอง : ระบอบสังคมนิยม โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (Communist Party of Vietnam) เป็นพรรคการเมืองเดียวและ มีอำนาจสูงสุด
เขตการปกครอง  แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 58 จังหวัด และ 5 เทศบาลซึ่งเป็นเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีฐานะเท่าจังหวัด
วันชาติ  2 กันยายน
หน่วยเงินตรา : ด่ง (Dong : VND) (1 บาท ประมาณ 691 ด่ง เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2555)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  119 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2554)
รายได้ประชาชาติต่อหัว  1,328.57 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2554)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 5.89 (ปี 2554)
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
     ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ จีน
ตลาดส่งออกที่สำคัญ : ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป
สินค้านำเข้าสำคัญ  น้ำมันสำเร็จรูป เหล็กและเหล็กกล้า เส้นใยสิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า พลาสติก รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรและอุปกรณ์ นำมันดิบ
สินค้าส่งออกสำคัญ  สิ่งทอและเสื้อผ้า น้ำมันดิบ อาหารทะเล ข้าว ยางพารา กาแฟ รองเท้า ชา คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ชื่อภาษาท้องถิ่น – ก่ง หั่ว สา โห่ย จู่ เหงียน เหวียต นาม
คำทักทาย – ซินจ่าว
                
ดอกไม้ประจำชาติ
 : ดอก Lotus หรือ ดอกบัว สำหรับชาวเวียดนามแล้ว ดอกบัวคือสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี เป็น 1 ใน 4 พันธ์ไม้ที่มีความสง่างามของชาวเวียดนาม ซึ่งประกอบด้วย ต้นสน ต้นไผ่ ต้นเบญจมาศ และดอกบัว
อาหารยอดนิยมของประเทศเวียดนาม
               
Nam หรือ เปาะเปี๊ยะเวียดนาม เป็น หนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเวียดนาม แผ่นเปาะเปี๊ยะทำจากแผ่นแป้งที่ทำจากข้าวเจ้า โดยไส้เปาะเปี๊ยะอาจเป็นไก่ หมู กุ้ง ห่อรวมกับผักต่างๆ นับเป็นอาหารยอดนิยมที่สามารถรับประทานได้ทั่วไปในเวียดนาม
ชุดประจำชาติของประเทศเวียดนาม

อ่าวหญ่าย (Ao dai) เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนาม ที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัวสวมทับกางเกงขายาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวม ใส่ในงานแต่งงานและพิธีการสำคัญของประเทศ มีลักษณะคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงเวียดนาม ส่วนผู้ชายเวียดนามจะสวมใส่ชุดอ่าวหญ่ายในพิธีแต่งงาน หรือพิธีศพ
เครื่องดนตรี
                                                   
Dan nhi
 เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย (เครื่องสี) มีลักษณะคล้ายซอด้วงของไทยมีเสียงสูงต่ำที่เป็นเอกลัษณ์เฉพาะ Dan nhi มี สาย 2สาย มีลักษณะยาว สายทำมาจากไหมถัก และกล่องเสียงทำมาจากหนังงู ในปัจจุบัน Dan nhi สายมักทำจากลวด และกล่องเสียงทำด้วยไม้
                                                 
Dan tranh Dan tranh
 เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย (เครื่องดีด) มีลักษณะคล้ายพิณ มีสายทั้งหมด 16สาความยาวประมาน 100 ซม. เครื่องดนตรีชนิดนี้ ประดิษฐ์ขึ้นโดยจักรพรรดิของจีน Phuc Hi ปัจจุบัน Dan tranh เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมอย่างมากในหมู่นักเรียนหญิงชาวเวียดนาม

Kim หรือ Dan nguyet เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย (เครื่องดีด) มีลักษณะคล้ายกีต้าร์ แต่มีสายแค่2สาย มีเสียงที่นุ่มนวล

เครื่องเป่า ได้แก่ ปี่ และ ขลุ่ยเวียดนาม ปีนั้นมีลักษณะคล้ายปี่ชวาของไทย และ ขลุ่ยเวียดนาม นั้นมีลักษณะคล้ายขลุ่ยจีน มีรู 6 รู รูเป่าอยู่ด้านข้างคล้ายฟลูท ยาวประมาย 70 ซม

Dan bau เป็นพิณน้ำเต้าสายเดี่ยวแบบโบราณ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  :  http://instrumentasean.wordpress.com/

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สมาชิก AEC : ลาว

สมาชิก AEC : ลาว

   
ธงประจำชาติ                                                            ตราแผ่นดิน
ลาว (Laos)
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People’s Democratic Republic)
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์(Vientiane)

ที่ตั้ง : เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพรมแดนติดจีนและพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก พื้นที่ : 236,800 ตารางกิโลเมตร (ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย) แบ่งเป็น 16 แขวง และ 1 เขตปกครองพิเศษ (นครหลวงเวียงจันทน์)
พื้นที่ : 236,880 ตร.กม. (1/2 เท่าของประเทศไทย)
ภูมิอากาศ : อุณหภูมิเฉลี่ย 29-33 องศา ต่ำสุด 10 องศา ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 1,715 มม.ต่อปี ความชื้น 70-80 %
ประชากร : ประมาณ 6 ล้านคน (2552)
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ศาสนา : 75% นับถือพุทธ (เถรวาท), นับถือผี 16%
ประมุข-ประธานประเทศ (ในภาษาลาว หมายถึง ตำแหน่งประธานาธิบดี) (President of the Lao PDR) คือ พลโท จูมมาลี ไซยะสอน (Lt. Gen. Choummaly Sayasone)
หัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรี คือ นายทองสิง ทำมะวง
ระบอบการปกครอง : ระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดยพรรคการเมืองเดียวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ คือพรรคประชาชนปฏิวัติลาว มีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยม เมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518
วันชาติ  2 ธันวาคม (2518)
หน่วยเงินตรา : กีบ (Kip) (1 บาท เท่ากับประมาณ 250 กีบ) (2553)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  8.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2554)
รายได้ประชาชาติต่อหัว  835 ดอลลาร์สหรัฐ (2551)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 7.9 (2551)
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
สินค้านำเข้าสำคัญ  รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอุปโภคบริโภค
สินค้าส่งออกสำคัญ  ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ชื่อภาษาท้องถิ่น : สาทาละนะลัต ปะซาทิปะไต ปะซาซนลาว
คำทักทาย : สะบายดี
                                         
ดอกไม้ประจำชาติ
 : ดอก Champa หรือดอกลีลาวดี มีกลิ่นหอมและมีหลายสี เช่น สีแดง สีเหลือง สีชมพู และโทนสีอ่อนต่างๆ เป็นตัวแทนของความจริงใจและความสุขในชีวิต
อาหารยอดนิยมของประเทศลาว 
 “ซุปไก่”(Chicken Soup)

แกงรสชาติหวานอร่อยกลมกล่อม ที่มีส่วนผสมสำคัญ ได้แก่ ตะไคร้ ใบสะระแหน่ กระเทียม หอมแดง รวมถึงรสชาติเปรี้ยว เผ็ด จากมะนาวและพริก รับประทานร้อนๆ กับข้าวเหนียว ได้คุณค่าทางโภชนาการอาหารและความอร่อยไปพร้อมๆ กัน
ชุดประจำชาติของประเทศลาว

ผู้หญิงลาวนุ่งผ้าซิ่น และใส่เสื้อคอกลมแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากล หรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ด คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย
เครื่องดนตรี
                                                  
Khene
 เป็นเครื่องเป่ามีสิ้นโลหะ เสียงเกิดจากลมผ่านสิ้นโลหะไปตามลำไม้ที่เป็นลูกแคน การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้าและดูดลมออกด้วย จึงเป่ายากพอสมควร แคนมีหลายขนาดบางขนาดมีเสียงประสานอยู่ด้วย แคนมีหลายประเภทตามจำนวนสูกแคน นอกจากบรรเลงเป็นวงแล้วก็ยังใช้บรรเลงประกอบการรำ (การขับร้อง) หรือใช้บรรเลงร่วมกับพิณ โปงลาง ฯลฯ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  :  http://instrumentasean.wordpress.com/